เมนู

4. จตุตถนันทิขยสูตร


ว่าด้วยความสิ้นไปแห่งความเพลิดเพลิน


[248] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงใส่ใจถึงรูปโดย
อุบายอันแยบคาย จงพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงแห่งรูปตามความเป็นจริง
เมื่อใส่ใจถึงรูปโดยอุบายอันแยบคาย พิจารณาเห็นความไม่เที่ยงแห่งรูป
ตามความเป็นจริง ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป เพราะสิ้นความเพลิดเพลิน
จึงสิ้นราคะ เพราะสิ้นราคะ จึงสิ้นความเพลิดเพลิน เพราะสิ้นความ
เพลิดเพลินและราคะ เราจึงเรียกว่า จิตหลุดพ้นดีแล้ว ฯลฯ เธอทั้งหลาย
จงใส่ใจถึงธรรมารมณ์โดยอุบายอันแยบคาย จึงพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง
แห่งธรรมารมณ์ตามความเป็นจริง เมื่อใส่ใจถึงธรรมารมณ์โดยอุบายอัน
แยบคาย พิจารณาเห็นความไม่เที่ยงแห่งธรรมารมณ์ตามความเป็นจริง
ย่อมเบื่อหน่ายในธรรมารมณ์ เพราะสิ้นความเพลิดเพลิน จึงสิ้นราคะ
เพราะสิ้นราคะ จึงสิ้นความเพลิดเพลิน เพราะสิ้นความเพลิดเพลินและ
ราคะ เราจึงเรียกว่า จิตหลุดพ้นดีแล้ว.
จบ จตุตถนันทิขยสูตรที่ 4

จตุตถปัณณาสก์



นันทิขยวรรคที่ 1



อรรถกถานันทิขยสูตรที่ 1 - 4


นันทิขยวรรค นันทิขยสูตรที่ 1 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า นนฺทิกฺขยา ราคกฺขโย ราคกฺขยา นนฺทิกฺขโย ท่าน
กล่าวว่า นันทิ และราคะ โดยอรรถก็เป็นอันเดียวกัน. บทว่า สุวิมุตฺตํ
ความว่า หลุดพ้นด้วยดี โดยหลุดพ้นด้วยอรหัตตผล. คำที่เหลือในสูตรนี้
และในสูตรที่ 2 เป็นต้น ง่ายทั้งนั้น.
จบ อรรถกถานันทิขยสูตรที่ 1 - 4

5. ปฐมชีวกัมพวนสูตร


ว่าด้วยสิ่งทั้งปวงปรากฏตามความเป็นจริง


[249] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ชีวกัมพวัน
กรุงราชคฤห์ ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย ฯลฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเจริญสมาธิ เพราะเมื่อภิกษุมีจิตตั้งมั่น
แล้ว สิ่งทั้งปวงย่อมปรากฏตามความเป็นจริง. ก็อะไรเล่าปรากฏตามความ
เป็นจริง. คือ จักษุย่อมปรากฏตามความเป็นจริงว่า ไม่เที่ยง รูปย่อม
ปรากฏตามความเป็นจริงว่า ไม่เที่ยง จักษุวิญญาณย่อมปรากฏตามความ